5 กลยุทธ์ ในการบริหารการขายและตลาด อสังหาริมทรัพย์ ในช่วงเวลาวิกฤต 

5 กลยุทธ์ ในการบริหารการขายและตลาด อสังหาริมทรัพย์ ในช่วงเวลาวิกฤต 

5 กลยุทธ์ ในการบริหารการขายและตลาด อสังหาริมทรัพย์ ในช่วงเวลาวิกฤต 

รับฝากขายบ้าน คอนโด ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ – ฝากขายบ้านฟรี

อสังหาริมทรัพย์ อย่างที่รู้ๆ กันว่า ในการลงทุนนั้นจะใช้ทุนในการลงทุนค่อนข้างสูงกันเลยทีเดียว ดังนั้นในการลงทุนจะต้องเตรียมความพร้อมเสมอ และการลงทุนทุกอย่างจะต้องเจอกับวิกฤตต่างๆ โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้จะทั้งโลกจะต้องเจอกับวิกฤต จากโรคระบาด COVID 19 ที่ระบบเศรษฐกิจและการลงทุน และการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียว แต่ดูเหมือนว่าการลงทุนอสังหาริมทรัพย์จะได้รับผลกระทบน้อยกว่าเท่านั้นเอง แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเราจะต้องเจอกับวิกฤตอะไรก็แล้วแต่ เราจะต้องเตรียมรับมือกับวิกฤตนั้นให้ดี และสำหรับนักลงทุนและผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเผชิญกับวิกฤตเหล่านี้ มาดู 5 กลยุทธ์ ในการบริหารการขายและตลาด อสังหาริมทรัพย์ ในช่วงเวลาวิกฤต เพื่อเตรียมความพร้อมทุกครั้ง

5 กลยุทธ์ ในการบริหารการขายและตลาด อสังหาริมทรัพย์ ในช่วงเวลาวิกฤต เตรียมตัวอย่างไรไม่ให้พลาด 

เมื่อภาวะเศรษฐกิจและการลงทุนนั้นอยู่ในช่วงเวลาวิกฤต สำหรับนักลงทุนและผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์จะต้องเตรียมตัวอย่างไรในการรับมือกับวิกฤตนั้นๆ

อยากลงทุนคอนโด บ้าน และอสังหาริมทรัพย์ทุกชนิด กับเรา คลิก!

1.คอยติดตามสถานการณ์ตลาดและข่าวสารอย่างใกล้ชิด

การลงทุนมีวิกฤตที่ผันผวนที่แตกต่างกันออกไป อาจจะต้องเจอกับวิกฤตที่สุดเหวี่ยง มีความผันผวนและบังคับให้จะต้องเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นสำหรับนักลงทุนหรือผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเจอกับวิกฤตต่างๆ ในการลงทุนจะต้องทำอย่างไร? สิ่งแรกที่ควรทำมากๆ ก็คือการ คอยติดตามสถานการณ์ตลาดและข่าวสารอย่างใกล้ชิด และข่าวสารที่จะต้องติดตาม คือระบบของเศรษฐกิจโลกที่จะส่งผลต่อการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ และข่าวสารการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อที่จะได้เข้าใจทิศทางของวิกฤตและมองเห็นแนวโน้มการบริหารที่เหมาะสมและตรงจุดต่อการพัฒนาของตนเองมากยิ่งขึ้น

อย่างเช่น วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากโรคระบาด COVID 19 ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างมหาศาล และส่งผลต่อผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อที่ลดลงเป็นอย่างมาก เมื่อผู้บริโภคมีกำลังซื้อที่ลดลง แน่นอนว่าการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน เพราะการลงทุนจะต้องมีผู้ซื้อ ทางผู้ซื้อมีกำลังซื้อที่ลดลง อาจจะส่งผลกระทบกับโครงการนั้นๆ ดังนั้นผู้พัฒนาโครงการหรือนักลงทุนต้องติดตามข่าวสาร เพื่อที่จะได้นำมาปรับใช้ วิเคราะห์และประเมินผล และออกแบบ แนวทางการบริหารงานขาย เพื่อสร้างยอดขายให้ตรงตามเป้าในขณะที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อที่ลดลง

2.ใส่ใจกับข้อมูลบนฐานที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง 

การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ สิ่งที่สำคัญมากที่สุดก็คือลูกค้า ถ้าไม่มีลูกค้า ถึงโครงการเราจะดีมากแค่ไหน ก็อาจจะแย่เมื่อหาลูกค้าไม่ได้ สำหรับการใส่ใจในเรื่องของข้อมูลแน่นอนว่า เราเหล่านักลงทุนและผู้พัฒนาโครงการต่างก็ให้ความสำคัญกันเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว และยิ่งในช่วงวิกฤตที่เกิดขึ้น ข้อมูลยิ่งจะต้องใส่ใจมากยิ่งขึ้นเป็นพิเศษ อย่างเช่น วิเคราะห์ข้อมูลเชิง Big Data ที่จะทำให้เห็นภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคว่ามีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางใด เพื่อที่จะได้มีแผนในการเตรียมรับมือกับวิกฤตนั้นๆ และเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ใส่ใจกับ Insights เกี่ยวกับผู้บริโภคและกลุ่มเป้าหมายโดยตรง เพื่อที่จะออกแบบและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดการขายอย่างตรงจุดและเห็นผล

3.ทำการตลาดแบบเจาะกลุ่มและหา Target ให้ตรงกลุ่มและเป็นไปได้มากที่สุด

การหากลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจ ฟังดูเหมือนเป็นคำที่จะได้ยินมากที่สุดในการลงทุนในด้านต่างๆ แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าการกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน คือการหากลุ่มเป้าหมายที่เป็นไปได้มากที่สุด และในด้านของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในช่วงวิกฤตทำให้ซึ่งที่เกี่ยวข้องกับสภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภคโดยตรง ทำให้กลุ่มเป้าหมาย นั้นลดลงตามไปด้วย และยิ่งกลุ่มเป้าหมายที่เป็นไปได้ก็จะค่อนข้างน้อยลงเช่นเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็ยังคงมี Demand อยู่เสมอ แต่อาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งในด้านของราคา รูปแบบและลักษณะโครงการ รวมไปถึงสิ่งอำนวยความสะดวกที่ผู้ซื้อต้องการ ดังนั้นในการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสทางผู้พัฒนาหรือนักลงทุนจะต้องทำการศึกษาและวิจัย การตลาดแบบละเอียดมากยิ่งขึ้น เน้นกลุ่มเป้าหมาย Target ที่เป็นไปได้มากที่สุด

4.เน้นระบายสต๊อก โฟกัสกับโครงการเดิมที่มีอยู่ อย่าเพิ่มคิดโครงการใหม่ 

สำหรับผู้พัฒนาที่กำลังคิดโครงการหรือกำลังดำเนินโครงการใหม่ แนะนำให้ชะลอโครงการเหล่านั้นไปก่อน การชะลอโครงการไปก่อนไม่ใช่ และแพ้หรือล้มเหลวในการบริหารโครงการนั้น ด้วยเนื่องจาก ปัญหาและเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ ทำให้ การดำเนินโครงการใหม่อาจจะได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย ดังนั้นควรที่จะระบายสต๊อกโครงการเดิมที่ยังขายไม่หมด เน้นปล่อยขายให้ได้มากที่สุดในช่วงวิกฤตทางเศรษฐกิจแบบนี้ เพราะการสร้างโครงการใหม่ก็ยิ่งเป็นการเพิ่มสต๊อกมากยิ่งขึ้นอาจจะเกิดทรัพย์สินค้างจนถึงปัญหาสภาพคล่อง สำหรับผู้พัฒนาที่ประเมินตนเองแล้วว่าไม่พร้อมที่จะลงทุน แนะนำให้โฟกัสโครงการเดิมให้ได้มากที่สุด เมื่อระบายออกไปมากพอสมควรตามที่วางเป้าหมายไว้แล้ว ค่อยริเริ่มโครงการใหม่ในเวลาที่พร้อมและปัญหาวิกฤตนั้นดีขึ้น

5.ดูนโยบายของรัฐ

ผู้พัฒนาและนักลงทุนนอกจากดูที่ผู้บริโภคเป็นหลักแล้ว ยังจะต้องดูนโยบายของรัฐที่อาจจะเข้ามาช่วยในการลงทุน ซึ่งนโยบายเหล่าอาจจะช่วยกับตัวผู้พัฒนาเองหรืออาจจะช่วยผู้บริโภคมีกำลังซื้ออสังหาริมทรัพย์มากยิ่งขึ้น หรือจะเป็นนโยบายที่กระตุ้นในการซื้ออสังหาริมทรัพย์มากยิ่งขึ้น อย่างเช่น นโยบายปลดล็อก LTV ซื้อคอนโดและกู้ได้เต็ม และไม่ต้องมีเงินดาวน์ โดยมีผลบังคับชั่วคราว ตั้งแต่ 20 ตุลาคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2565 สิ่งนี้ก็เป็นนโยบายที่กระตุ้นการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่ให้ผลประโยชน์ทั้งผู้บริโภคและผู้พัฒนาโครงการ

5 กลยุทธ์ ในการบริหารการขายและตลาด อสังหาริมทรัพย์ ในช่วงเวลาวิกฤต ที่จะทำให้การลงทุนในช่วงที่เกิดวิกฤตต่างๆ ไม่เสียเปล่า หรือได้รับผลกระทบที่มากจนเกิดไป ซึ่งผู้พัฒนาและนักลงทุนจะต้องเตรียมความพร้อมทั้ง เรื่องของ คอยติดตามสถานการณ์ตลาดและข่าวสารอย่างใกล้ชิด ใส่ใจกับข้อมูลบนฐานที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ทำการตลาดแบบเจาะกลุ่มและหา Target ให้ตรงกลุ่มและเป็นไปได้มากที่สุด เน้นระบายสต๊อก โฟกัสกับโครงการเดิมที่มีอยู่ อย่าเพิ่มคิดโครงการใหม่ และการดูนโยบายของรัฐ เพื่อจะได้นำไปปรับใช้ในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์

 

อ่านบทความ การลงทุน เพิ่มเติม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *