กู้ร่วมซื้อบ้าน แต่เมื่อเลิกกันจะทำอย่างไร

กู้ร่วมซื้อบ้าน แต่เมื่อเลิกกันจะทำอย่างไร

กู้ร่วมซื้อบ้าน แต่เมื่อเลิกกันจะทำอย่างไร

รับฝากขายบ้าน คอนโด ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ – ฝากขายบ้านฟรี

ความรักเมื่อมาถึงทางตัน ไม่สามารถไปต่อได้ ก็จะต้องแยกทางกัน เพื่อไปหาสิ่งที่ดีที่สุด และสำหรับคู่รักที่มีการนิติกรรมร่วมกัน ลงทุนกับการซื้อบ้านเพื่อที่จะสร้างครอบครัว แต่วันนั้นกลับไม่ได้เป็นดังฝัน จะต้องเลิกรากันไป แต่ยังมีบ้านที่ซื้อร่วมกัน แล้วบ้านหลังนี้จะเป็นของใคร ชื่อผู้ซื้อเป็นใคร หรือถ้าตกลงกันไม่ได้ จะเเบ่งกันอย่างไร ถึงจะถูกต้อง และเหมาะสม ปัญหาเหล่านี้สามารถคลี่คลายได้ โดยมีแนวทางการแก้ปัญหาได้ จะได้ไม่เกิดปัญหาในการแย่งทรัพย์สินกันในภายหลัง

กู้ร่วมซื้อบ้าน แต่เมื่อเลิกกันจะทำอย่างไร แนวทางการไขปัญหาก่อนเลิกรากันไป

การกู้ร่วมเป็นการกู้ร่วมทั้งสองฝ่าย โดยส่วนมากจะเป็นการกู้ร่วมแบบคู่รัก สามีภรรยา เป็นการกู้ทรัพย์สินโดยมีผู้กู้ร่วมอีกคน เป็นคนร่วมรับภาระหนี้ ซึ่งวิธีนี้จะทำให้สถาบันทางเงินพิจารณาและอนุมัติการกู้ง่ายและเร็วมากยิ่งขึ้น

อยากลงทุนคอนโด บ้าน และอสังหาริมทรัพย์ทุกชนิด กับเรา คลิก!

ถอนชื่อคู่รักที่กู้ร่วม

เมื่อความรักไปต่อกันไม่ได้ จึงต้องหย่าร้างกัน แต่ก็ยังมีทรัพย์สินต่างๆ ที่จะต้องจัดสรรปันส่วนให้อย่างลงตัวทั้งสองฝ่าย และยิ่งเป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูงอย่างบ้าน คอนโด ทาวน์โฮม ที่ทั้งสองได้ทำนิติกรรมรวมกัน อย่างการกู้ร่วมเมื่อเลิกราแล้ว สามารถถอดถอนชื่อคู่รักที่กู้ร่วม ซึ่งการถอดถอนผู้กู้ร่วมมีอยู่ 2 รูปแบบดังนี้

คู่รักที่จดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 

สำหรับคู่รักที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อเลิกรากันแล้ว ตกลงเรื่องของทรัพย์กันอย่างลงตัวแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคอนโด บ้าน ทาวน์โอม ต่างๆ เมื่อเลิกรากัน และจนทะเบียนหย่ากันเรียบร้อยเเล้ว ก็สามารถนำเอกสารการหย่าร้าง และสัญญาซื้อขายที่ทั้งสองได้กู้ร่วมกัน ไปยื่นที่สถาบันทางการเงินที่ได้ทำการกู้ร่วมเอาไว้ โดยเจ้าหน้าที่เป็นดูแลและจัดการเปลี่ยนรูปแบบสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสัญญาเงินกู้ใหม่

คู่รักที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 

สำหรับคู่รักที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อเลิกรากันไป ก็สามารถถอดถอนชื่อผู้กู้ร่วมได้อย่างง่าย และไม่ยุ่งยาก เพียงทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่า ใครจะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เจ้าของทรัพย์ที่ตกลงกู้ร่วมด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโด ทาวน์โฮม สามารถแจ้งถอดถอนรายชื่อผู้กู้ร่วมโดยแจ้งกับทางเจ้าหน้าที่สถาบันทางการเงิน ว่าต้องการถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเพียงคนเดียว ในกรณีที่ไม่ได้จนทะเบียนสมรส และทางธนาคารจะเป็นผู้พิจารณาว่าคนที่ถือกรรมสิทธิ์นั้นจะมีความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ที่เหลืออยู่ได้หรือไม่

ตัดปัญหาโดยการขายทิ้ง

เป็นวิธีการที่นิยมและยุ่งยากน้อยที่สุด เพราะเมื่อทั้งสองฝ่ายอาจจะตกลงกันไม่ได้ว่าทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโด ทาวน์โฮมที่ทำการกู้ร่วมกันมาจะตกเป็นของใคร การขายทิ้งแล้วนำเงินมาแบ่งกันให้ลงตัว ซึ่งการขายบ้านที่ยังผ่อนอยู่จะต้องไปติดต่อที่ธนาคาร แล้วแจ้งว่าต้องการขายทรัพย์สินนั้นๆ หรือผ่อนเสร็จแล้วต้องการจะขาย ก็สามารถขายได้เลย แต่ก่อนขายจะต้องตรวจเซ็คสภาพบ้านก่อนทำการซื้อขาย โดยจะต้องมีค่าใช้จ่ายๆ ต่างๆ ในการขาย อย่างเช่น

  • ค่าธรรมเนียมการโอน
  • ค่าอากรแสตมป์
  • ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ

รีไฟแนนซ์จากกู้ร่วมเป็นกู้เดี่ยว

กรณีรีไฟแนนซ์ทำเมื่อทางธนาคารไม่อนุมัติให้ถอดถอนรายชื่อผู้กู้ร่วมเป็นการกู้เดียวได้ เพราะปัจจัยต่างๆ อย่างเช่น พิจารณาดูแล้วว่า ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถกู้เดียวได้ จากรายได้และความมั่นคงทางรายได้ ไม่ถึงเกณฑ์ ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้คนเดียวได้ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการรีไฟแนนซ์ โดยการรีไฟแนนซ์ จะต้องการยื่นรีไฟแนนซ์กับสถาบันทางการเงินอื่นๆ ที่ไม่ใช่สถาบันเดียวที่ยื่นกู้ซื้อบ้าน และทำการยื่นกู้เพียงคนเดียว และทางสถาบันทางการเงินจะเป็นคนพิจารณาว่า สามารถที่จะชำระหนี้ได้หรือไม่ โดยจะใช้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  • พิจารณาจากรายได้ของผู้กู้
  • ดูยอดดาวน์ที่กู้ซื้อบ้าน
  • เช็คภาระหนี้ต่อเดือนของผู้กู้
  • ประวัติเครดิตบูโรหรือแบล็คลิสต์ 

คู่รักที่เลิกรากันแล้ว แต่ยังมีทรัพย์สินร่วมกันอยู่ และยิ่งเป็นทรัพย์สินอย่าง บ้าน คอนโด ทาวน์โฮม ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการตกลงร่วมกันได้ หรือตกลงร่วมไม่ได้ โดยแนวทางการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้แก่ ถอนชื่อคู่รักที่กู้ร่วม ที่มีตั้งแต่ คู่รักที่จดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และ คู่รักที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หรือ ตัดปัญหาโดยการขายทิ้ง ง่ายและสะดวกที่สุดปัญหาน้อยที่สุด หรืออาจจะ รีไฟแนนซ์จากกู้ร่วมเป็นกู้เดี่ยว แต่ทุกอย่างจะต้องศึกษาทั้งเรื่อง กรรมสิทธิ์ก่อนกู้ตั้งแต่ก่อนทำสัญญากู้ เพื่อจะได้ลดปัญหาที่เกิดขึ้นในภายหลัง

 

อ่านบทความ การลงทุน เพิ่มเติม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *