การขายฝากคืออะไร ต่างจากการจำนองอย่างไร

การขายฝากคืออะไร

การขายฝากคืออะไร ต่างจากการจำนองอย่างไร

รับฝากขายบ้าน คอนโด ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ – ฝากขายบ้านฟรี

การขายฝากคืออะไร ต่างจากการจำนองอย่างไร มาทำความรู้จักก่อนที่จะทำการขายฝากหรือจำนอง สำหรับการทำธุรกรรมแบบนำอสังหาริมทรัพย์ อย่าง บ้าน ที่ดิน คอนโด ไปเป็นหลักทรัพย์ในการยื่นแลกเงินก้อน สำหรับมาใช้จ่ายต่างๆ ทุกคนคงจะนึกถึงการจำนองเป็นหลัก เพราะส่วนมากคนจะคิดว่ามีแค่การจำนองเท่านั้น แต่จริงๆ แล้ว ธุรกรรมในลักษณะนี้มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ การจำนอง และการขายฝาก ซึ่งธุรกรรมทั้งสองมีความเหมือนกันมากจนแทบจะแยกกันไม่ออก แต่ก็จะมีจุดที่แต่ต่างกันอยู่ ซึ่งแต่ละอันจะมีข้อดีและข้อด้อยที่แกต่างกัน ดังนั้นเราจะมาจำแนกข้อดีและข้อด้อย รวมไปถึงลักษณะของธุรกรรมทั้ง 2 นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร

การขายฝากคืออะไร ต่างจากการจำนองอย่างไร ควรรู้ก่อนที่จะทำธุรกรรม

การขายฝากคืออะไร

ธุรกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ที่มีความคล้ายคลึง กันมากๆ แต่ก็จะมีจุดที่แตกต่างกันออกไป ที่มีทั้งจุดเด่นจุดด้อยต่างๆ ก่อนที่จะทำธุรกรรมเราควรทำความเข้าใจของธุรกรรมต่างๆ ให้เข้าใจก่อนที่จะทำธุรกรรมทั้ง 2 อย่าง เพื่อที่จะได้เลือกให้ได้อย่างเหมาะสม

รับฝากขาย-จำนอง ที่ดิน ที่นา ที่ไร่ และอสังหาริมทรัพย์ทุกชนิด กับเรา คลิก!

การขายฝาก

การขายฝาก เป็นการทำนิติกรรมในรูปแบบที่ขายสินทรัพย์ ประเภทอสังหาริมทรัพย์ ว่าจะเป็น บ้าน ที่ดิน คอนโด และอื่นๆ โดยการนำเอาสินทรัพย์ไปขายให้กับผู้รับซื้อ กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อทันทีโดยทำนิติกรรมผ่านกรมที่ดิน มีความปลอดภัย และผู้ขายสามารถไถ่ถอน สินทรัพย์ที่ขายนั้นได้ ตามที่ตกลง ทำการขายฝาก ซึ่งจะมีระยะเวลากำหนด ว่าจะต้องมาไถ่ถอนคืนเวลาไหน มีค่าดอกเบี้ยที่ต้องชำระ รวมไปถึงค่าไถ่ถอนคืนที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่แรกตอนที่ทำสัญญา และถ้าหากไม่ได้มาไถ่ถอนคืนตามระยะเวลาที่กำหนด สินทรัพย์จะตกเป็นของผู้ซื้อทันทีแต่ก็สามารถยื่นเวลาเพิ่มในการไถ่ถอนคืนได้ ตามที่ตกลงกันไว้ ซึ่งจะยื่นเวลาได้ไม่เกิน 10 ปี

การจำนอง

การจำนองเป็นการทำนิติกรรมที่นำเอาสินทรัพย์ไปเป็นหลักประกันในการกู้เงินต่างๆ โดยสินทรัพย์ที่สามารถนำไปจำนองได้แก่ สินทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็น บ้าน ที่ดิน คอนโด ต่างๆ และสินทรัพย์ประเภทสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียน เฉพาะที่กฎหมายกำหนดให้สามารถจำนองได้ ได้แก่ ยานพาหนะ อย่างเช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ต่างๆ เครื่องจักร เป็นต้น โดยในการจำนองสินทรัพย์ทุกชนิด ควรต้องทำสัญญาจำนองไปจดทะเบียนด้วย ซึ่งในกรณีสินทรัพย์ที่จำนองเป็นอสังหาริมทรัพย์ ให้จดทะเบียนในที่ทำการที่ดินที่มีเขตอำนาจ รวมทั้งในกรณีสังหาริมทรัพย์ ให้จดทะเบียนในสำนักทะเบียน ซึ่งรับผิดชอบงานจดทะเบียนสังหาริมทรัพย์ประเภทนั้นๆ ทั้งนี้ทั้งนั้น การจำนองกรรมสิทธิ์ยังตกเป็นของเราอยู่ สามารถใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์นั้นๆ ได้ตามปกติ อย่างเช่น นำรถไปจำนอง เราก็ยังสามารถใช้รถได้ตามปกติ แต่เราจะต้องชำระหนี้กำหนด เมื่อมีการผิดชำระหนี้ ผู้รับจำนองมีสิทธิ์ฟ้องบังคับชำระหนี้และบังคับคดีกับทรัพย์สินที่จำนองได้ตามกฎหมายได้

ข้อแตกต่างระหว่างการขายฝาก และการจำนอง

ถึงแม้ลักษณะของนิติกรรมของทั้ง 2 อย่างนั้นจะมีความคล้ายกัน แต่ก็มีความแตกต่างกัน ซึ่งมาดูว่าข้อแตกต่างของ การจำนอง และการขายฝากนั้น มีความแตกต่างกันอย่างไร

กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์

การขายฝาก การขายฝากกรรมสิทธิ์จะตกไปเป็นของผู้รับซื้อทันที ผู้ขายไม่สามารถมีสิทธิ์ในสินทรัพย์ที่ขายไป ไม่สามารถใช้ประโยชน์ สินทรัพย์นั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น ที่ดิน บ้าน คอนโด ต่างๆ

การจำนอง การจำนองเป็นการนำเอาสินทรัพย์ไปเป็นหลักประกัน ในการกู้เงิน แต่ไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์และมอบสินทรัพย์ให้แก้ผู้ที่รับจำนอง ผู้จำนองมีสิทธิ์ในสินทรัพย์ทุกอย่าง สามารถใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ ได้ตามปกติ

ระยะเวลา

การขายฝาก การขายฝากจะมีการกำหนด ระยะเวลาในการไถ่ถอนสินทรัพย์ที่นำมาฝากขาย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสัญญา และข้อตกลงทั้งสองฝ่ายว่าจะตกลงกันกี่ปี ซึ่งส่วนมาก สินทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ จะมีระยะเวลาที่ไถ่ถอนคืนไม่เกิน 10 ปี และสังหาริมทรัพย์ ไม่เกิน 3 ปี ถ้าเกินกว่านั้นสามารถยื่นขอเพิ่มเวลาในการไถ่ถอน แต่ก็จะขึ้นอยู่กับผู้ซื้อ หากผู้ขายไม่มาไถ่ถอนสินทรัพย์คืนตามระยะเวลาที่กำหนด ผู้ซื้อสามารถยึดสินทรัพย์นั้นเป็นของตนเองได้

การจำนอง การจำนองไม่ได้ระยะเวลากำหนดที่แน่ชัด เพราะส่วนมากถ้าเมื่อชำระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ ก็ถือว่าสิ้นสุดการจำนอง ผู้จำนองมีหน้าที่ ที่จะต้องชำระหนี้ ที่ตกลงกันไว้ให้ครบถ้วน จนกว่าจะชำระครบ จึงจะสิ้นสุดการจำนอง แต่ถ้าหาก ไม่มาชำระหนี้ หรือผิดชำระ ผู้รับจำนองสามารถฟ้องได้

ราคา

การขายฝาก การขายฝากส่วนใหญ่จะได้วงเงินอยู่ที่ประมาณ 40-70% ของราคาประเมิน ซึ่งได้ราคาที่สูงกว่า การจำนอง

การจำนอง การขายฝาก การขายฝากส่วนใหญ่จะได้วงเงินอยู่ที่ประมาณ 10-30% ของราคาประเมิน ซึ่งได้ราคาที่ต่ำกว่า การขายฝาก

ค่าธรรมเนียม

การขายฝาก การขายฝากจะมีค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนขายฝาก ในอัตรา 2% ของราคาประเมิน

การจำนอง การจำนองจะมีค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนจำนอง ในอัตรา 1% จากวงเงินจำนองหรือสูงสุดอยู่ที่ไม่เกิน 200,000 บาท

ค่าภาษีอากรที่ต้องชำระ

การขายฝาก มีค่าภาษีอากรธุรกิจเฉพาะ (ในกรณีถือครองอสังหาริมทรัพย์ยังไม่เกิน 5 ปี) ในอัตรา 3.3% หรือ ค่าอากรแสตมป์ ในอัตรา 0.5% ของราคาประเมิน หรือราคาขายฝาก แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า (ถ้าหากเสียค่าภาษีอากรธุรกิจเฉพาะแล้ว ไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์อีก)

การจำนอง ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนจำนอง ในอัตรา 1% จากวงเงินจำนองสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และ ค่าอากรแสตมป์ กรณีการจำนองเพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงิน หรือการตกลงให้ถอนเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ตราสารกู้ยืม หรือการตกลงให้ถอนเงินเกินบัญชีจากธนาคารทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท เสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาท แต่ว่าไม่เกิน 10,000 บาท

การขายฝากและการจำนองมีทั้งเหมือนและแตกต่างกัน ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มทำนิติกรรมต่างๆ เหล่านี้ เราควรที่จะศึกษา ก่อน และเลือกวิธีที่เหมาะสม หาข้อดีข้อด้อย ของนิติกรรมทั้งสองก่อนที่จะเริ่มทำ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่จะเกิดขึ้นภายหลัง เพราะการทำนิติกรรมต้องมีความละเอียดและรอบขอบ

 

อ่านบทความ ขายฝาก เพิ่มเติม

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *