กู้บ้าน กู้ร่วม กับความรักอันไร้เพศของ LGBTQ+ เตรียมตัวง่ายๆในการกู้ร่วม

กู้บ้าน กู้ร่วม กับความรักอันไร้เพศของ LGBTQ+

รับฝากขายบ้าน คอนโด ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ – ฝากขายบ้านฟรี

กู้บ้าน กู้ร่วม กับความรักอันไร้เพศของ LGBTQ+ ความรักไม่ได้จบที่การแต่งงานหรือมีลูกเสมอไป สำหรับความรักของ LGBTQ+ เป็นความรักที่อยู่ด้วยกันไปจนนานแสนนาน ครองคู่กันไป ในบ้านที่แสนจะอบอุ่นที่ทั้งสองได้ร่วมกันซื้อ และหามาได้ตัวตัวเอง ด้วยในประเทศไทยกฎหมายเรื่องการสมรสกับเพศเดียวกันนั้นยังไม่ได้สมบูรณ์หรือเทียบเท่ากับการสมรสของชายหญิงทั่วไป ยังมีข้อกฎหมายในเรื่องของการทำนิติกรรมร่วมกันที่ยังดูไม่เท่าเทียบหรืออาจจะทำไม่ได้ในบางกรณี การที่เราจะซื้อบ้านร่วมกัน กู้ร่วมกัน เราไม่ทะเบียนสมรส ที่จะใช้เป็นเอกสารในการกู้ร่วม แต่ในยุคปัจจุบันที่ ความเท่าเทียบเป็นอีกกระแสของสังคมที่ให้ความสนใจและกำลังขับเคลื่อนประเด็นนี้อยู่ ถึงแม้กฎหมายบางข้ออาจจะยังไม่รับรองในการทำนิติกรรมร่วมกันของกลุ่ม LGBTQ+ แต่ในเรื่องของการ กู้ร่วม หรือเปิดบัญชีร่วมของกลุ่ม LGBTQ+ ก็สามารถทำได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารที่จะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป สำหรับที่คนกังวลว่าจะกู้ร่วมไม่ได้ หายห่วงปัญหาเรื่องนี้ได้เลย เพราะกู้ร่วมได้อย่างแน่นอน

กู้บ้าน กู้ร่วม กับความรักอันไร้เพศของ LGBTQ+ ความสัมพันธ์ในการกู้ร่วม

ความรักที่สมบูรณ์แบบไม่ได้จบลงที่แต่งงาน จดทะเบียนกันเสมอไป เพียงใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุขกับบ้านหลังที่จะสองฝ่ายสร้างและซื้อมันมาร่วมกัน เพียงเท่านี้ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่สมบูรณ์แบบแล้วในเรื่องของความรัก แต่สำหรับความรักของกลุ่ม LGBTQ+ ที่ยังไม่ได้รับความเท่าเทียมในเรื่องของการจดทะเบียนสมรส เพื่อที่จะได้ทำนิติกรรมร่วมกันแบบคู่สมรส ก็คงจะคิดหนักในเรื่องของ การทำนิติกรรมร่วมหรือการกู้บ้าน แบบกู้ร่วม ว่าจะสามารถทำได้แบบคู่รัก ชายหญิง ทั่วไปหรือไม่

ในการกู้ร่วมของ LGBTQ+ สามารถทำได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคารว่าจะมีเงื่อนไขอะไรบ้าง และอาจจะมีขอเอกสารเพิ่มเติมที่มากกว่าเอกสารของคู่สมรสชายหญิงทั่วไป และนอกจากเอกสารของการกู้บ้านแล้ว ควรที่จะเตรียมเอกสารเพิ่มเติม อย่างเช่นเอกสารข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลที่มาของรายได้ ของแต่ละฝ่าย อย่างเช่น

– ทะเบียนบ้านที่มีชื่อของทั้งคู่ เพื่อเป็นการยืนยันว่าอาศัยอยู่ด้วยกัน

– บัญชีเงินฝากร่วมกัน (บัญชีคู่)

– เอกสารจากการกู้ซื้อทรัพย์สินอื่นๆร่วมกัน

– เอกสารยืนยันการทำธุรกิจร่วมกัน (ถ้ามี)

– ใบสมัครสินเชื่อบ้านที่มีการลงชื่อเพื่อยืนยันเพิ่มเติมว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างผู้กู้หลักและคู่รักที่จะกู้ร่วม

สำหรับคู่รัก LGBTQ+ ที่มีการแต่งงาน ก็สามารถนำภาพการแต่งงาน มาใช้เป็นหลักฐานในการยืนยันความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่าย หรือถ้าหากคู่รักมาการจดทะเบียนสมรสในประเทศที่อนุญาตให้เพศเดียวกันสมรสได้ ก็สามารถนำหลักฐานนี้มาใช้ในการยืนยันความสัมพันธ์ประกอบในการกู้ของธนาคารเพื่อใช้ในการพิจารณา

กู้บ้าน กู้ร่วม กับความรักอันไร้เพศของ LGBTQ+ เตรียมตัวง่ายๆในการกู้ร่วม

รับฝากขาย-จำนอง ที่ดิน ที่นา ที่ไร่ และอสังหาริมทรัพย์ทุกชนิด กับเรา คลิก!

ตรวจสอบเงื่อนไขธนาคาร ก่อนที่จะทำการกู้ร่วม

ก่อนที่จะทำการกู้ร่วมไปใช่เพียงว่าเราจะเดินเข้าไปในธนาคารแล้วแจ้งว่าต้องการกู้ร่วมสำหรับเพศเดียวกัน แล้วจะกู้ได้เลย เพราะบางธนาคาร อาจจะยังไม่ได้เปิดการกู้ร่วมของเพศเดียวกัน ซึ่งอาจจะทำให้เสียเวลา หรืออาจจะเสียความรู้สึกไปเลย ดังนั้นควรที่จะทำการตรวจสอบเงื่อนไขของแต่ละธนาคารว่ามีธนาคารไหนที่มีการเปิดให้กู้ร่วมของเพศ LGBTQ+ และแต่ละธนาคารมีข้อเหมือน และแตกต่างกันอย่างไร เพื่อที่จะได้เลือดธนาคารที่เหมาะสมที่สุด

ธนาคารที่เปิดให้สามารถกู้ร่วมได้

เงื่อนไขส่วนมากของธนาคาร ส่วนมากจะมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้กู้ร่วม เหมือนผู้กู้ร่วมทั่วไป ที่จะกำหนดอายุของผู้กู้ร่วม ที่จะต้องมีอายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไป ละผู้กู้รวมทั้งสองเมื่อรวมอายุกันแล้วจะได้ไม่เกิน 65 ปี โดยจะพิจารณาจากผู้กู้ร่วมที่มีอายุน้อยที่สุด ทางธนาคารจะดูทั้งวงเงินกู้ รายได้ และหนี้สินต่างๆ โดยแต่ละธนาคารมีเงื่อนไขดังนี้

ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เป็นธนาคารที่เปิดกว้างให้กับกลุ่ม LGBTQ+ มากๆ เพราะแทบจะไม่มีเงื่อนไขเพิ่มเติมจากการกู้ร่วมของชาย-หญิงทั่วไปเลย กู้ร่วมได้ทุกเพศ ทุกอาชีพ ไม่มีข้อจำกัด เพียงแค่มีสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนดไว้เท่านั้น เป็นอีกตัวเลือกสำหรับ LGBTQ+ ที่จะต้องการกู้ร่วม ในการกู้ซื้อบ้าน

ธนาคารกสิกร (KBANK) ธนาคารที่เปิดให้สามารถกู้ร่วมได้ แต่จะต้องมีเงื่อนไขพิเศษ เพิ่มเติม คือหลักฐานยืนยันความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่าย ที่จะต้องอยู่ร่วมกันอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งหลักฐานได้แก่ ทะเบียนบ้านที่อยู่ด้วยกัน บัญชีเงินฝากที่เปิดบัญชีร่วมกัน

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ธนาคารมีเงื่อนไขเพิ่มเติมจากการกู้ร่วมแบบปกติ คือ ผู้กู้ร่วมจะต้องมีอายุมากกว่า 30 ปี ขึ้นไป เมื่อรวมอายุในการผ่อนชำระ จะต้องไม่เกิน 65 ปี รวมทั้งจะต้องยื่นหลักฐานความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่าย ที่จะต้องอยู่ร่วมกันอย่างน้อย 1 ปี อย่างเช่น ทะเบียนบ้านที่อยู่ด้วยกัน บัญชีเงินฝากที่เปิดเป็นบัญชีร่วมกัน หรือภาพถ่ายในกรณีที่แต่งงานกัน

ธนาคารออมสิน (GSB) พิจารณาผู้กู้ร่วมทั่วไป แต่มีการพิจารณารายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด

ธนาคารยูโอบี (UOB) กำหนดให้ผู้กู้ร่วมสามารถกู้ได้ แต่มีเงื่อนไขคือจะพิจารณา ผู้กู้ร่วมฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่มีความสามารถในการกู้ซึ่งจะพิจารณาเพียงคนเดียว ส่วนผู้กู้ร่วมที่เหลือจะต้องมีความสามารถในการผ่อนชำระในฐานะผู้กู้ร่วมด้วย

ธนาคารที่ปล่อยกู้ร่วมได้แล้วแต่ในบางกรณี

ธนาคารกรุงไทย (KTB) จะรับพิจารณาผู้กู้ร่วมบางอาชีพเท่านั้น อย่างเช่น แพทย์และข้าราชการ

ธนาคารกรุงเทพ (BBL) จะรับพิจารณาเป็นบางกรณี ซึ่งจะพิจารณาจากหลักฐานยืนยันความสัมพันธ์ ว่าอยู่ร่วมกันมากี่ปี มีการทำนิติกรรมร่วมกันหรือไม่

 

จากข้อมูลเบื้องต้น จะเห็นได้ว่าคู่รักกลุ่ม LGBTQ+ จะต้องเตรียมหนักกว่าคู่รักแบบทั่วไปแบบ ชาย-หญิง อย่างมาก ด้วยการสมรสที่ยังไม่เท่าเทียบมากยิ่งขึ้น การทำนิติกรรมต่างๆ จึงอาจจะดูยาก และมีขั้นตอนที่ยุ่งมากมากกว่า คู่สมรสชายหญิง แต่ในกรณีกู้ร่วม ถึงแม้จะต้องเตรียมตัวมากกว่า จะหลักเกณฑ์ก็แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นสำหรับคู่รัก LGBTQ+ ที่กังวลเรื่องการกู้ร่วม ไม่ต้องกังวล เพราะสามารถยื่นกู้ได้เลย แต่ควรเลือกธนาคารที่เปิดรับการกู้ร่วมของ LGBTQ+ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการกู้ร่วม

 

อ่านบทความ การลงทุน เพิ่มเติม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *